สายตาเลือนรางคืออะไร
คนสายตาเลือนราง คือ ผู้ที่สูญเสียการเห็นบางส่วนไปอันเนื่องมาจาก โรคตา อุบัติเหตุ ภาวะสูงอายุ โรคทางกรรมพันธ์ การคลอดก่อนกำหนด หรือการแพ้ยา
ในระดับที่การรักษาด้วยเทคโนโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุยันยังไม่สามารถรักษาให้กลับมาเห็นเป็นปกติได้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาบุคคลที่มีความพิการทางการเห็นประเภทตาเลือนรางไว้ว่า หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ขยายใหญด้วยอุปกรณ เครื่องช่วยความพิการ หรือเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวก หากวัดความชัดเจนของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ 6 ส่วน 18 (6/18) หรือ 20 ส่วน 70 (20/70) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับคนสาสยตาเลือนราง ไว้ว่าเป็นบุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการเห็น คนที่มีสายตาเลือนราง จะวัดจากการตรวจสายตาข้างที่ดีกว่า เมื่อได้รับการแก้ไขด้วยแว่นตาแล้ว (Best corrected distance visual acuity) สามารถเห็นได้ตั้งแต่ 3 ส่วน 60 เมตร (3/60) หรือ 20 ส่วน 400 ฟุต (20/400) ไปจนถึงนอยกวา 6 ส่วน 18 เมตร (6/18) หรือ 20 ส่วน 70 ฟุต (20/70) หรือ มีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา ลงไปจนถึง 10 องศา ลักษณะการมองเห็นของตนสายตาเลือนราง รศ.ดร. ศุภา คงแสงไชย ได้จำแนกอาการไว้ว่ามีทั้งแบบที่ 1. สูญเสียสายตาส่วนกลาง 2. สูญเสียสายตาส่วนนอก 3.สูญเสียการรับรู้ความแตกต่างของสี 4.มีปัญหาเมื่อต้องมองแสงจ้า 5. มองไกลได้ไม่ชัด ไม่สามารถบอกรายละเอียดภาพได้ 6. เกิดจุดพร่าในภาพ
